วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วันที่สองกับ NMR

เมื่อคืนผมคิดว่าจะอ่านหนังสือเรื่อง NMR ตอนสี่ทุ่ม แต่ก็ไม่สามารถบังคับตัวเองได้ ผมเลยสร้างกฏขึ้นมาว่าถ้าไม่สามารถบังคับตัวเองให้อ่านหนังสือได้จะต้องมีบทลงโทษ บทลงโทษนั้นก็คืองดเล่น facebook ติดต่อกัน 3 วัน ซึ่งผมจะเริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

คราวนี้ผมขอพูดถึง NMR ต่อ จากตอนที่แล้ว ผมเน้นไปที่ ตัวสารหรือธาตุไอโซโทปที่มีการจัดเรียงตัวของสารประกอบนิวเคลียส หรือที่เรียกว่าการหมุนของนิวเคลียสเมื่อได้รับพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าไป คราวนี้ผม เข้าไปอ่านเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Nuclear_magnetic_resonance ซึ่งใน wikipedia นั้นจะเขียนอธิบายได้ละเอียดมาก


จากที่ผมได้ทำให้ผมทราบว่า ลักษณะของไอโซโทป ของธาตุที่มีการหมุนของนิวเคลียส จะเป็น ธาตุที่มีจำนวนโปรตรอนและ/หรือนิวตรอนเป็นเลขคี่ ซึ่งถ้าเกิดจำนวนโปรตอนหรือนิวตรอนเป็นเลขคู่ทั้งสองตัวพร้อมกันจะทำให้เกิดการหักล้างของโมเมนตัมเชิงมุมของนิวเคลียส ทำให้ไม่สามารถวัดค่าออกมาเพื่อศึกษาได้ สำหรับตัวอย่างไอโซโทปเหล่านั้นขอให้กลับไปดูที่ ลิงค์ ที่ผมเคยได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ และไอโซโทปที่เป็นที่นิยมมาก ได้แก่ H-1 และ C-13

ที่ผมจับใจความได้บทความจะลงลึกทฤษฎีผมเลยเริ่มรู้สึกต้องการตัวช่วยเลยต้องหาบทความภาษาไทยมาอ่านเกี่ยวกับ NMR ซึ่งผมก็ได้พบกับเว็ปดี ๆ ใกล้ๆตัวที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯครับ(ขอให้เครดิตหน่อย) เป็น Interactive webase learning ที่ทำได้ดีมาก ๆ ลิงค์อยู่ที่

http://chem.sci.ubu.ac.th/iNMR_th/index.htm

อ่านแล้วเข้าใจมีภาพเคลื่อนไหวให้ดูอีกสุดยอดไปเลยครับ

อันนี้เป็นวีดีโอสาธิตการใช้ NMR Spectrometer ที่ผมค้นเจอใน youtube



อันนี้เป็นวีดีโออีกอันที่น่าสนใจ



ตัวนี้เป็นซอฟต์แวร์ Simulator สำหรับศึกษา NMR และ MRI


ลิงค์ของซอฟต์แวร์ด้านบน
http://www.drcmr.dk/bloch

การทำงานของเครื่อง NMR (แบบฟูเรียทรานฟอร์ม:FT-NMR)


ที่มาของภาพ : -> http://chem.sci.ubu.ac.th/iNMR_th/nmr/introduction_nmr/demo_nmr_spectrometer.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น