วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เริ่มมีแรงฮึด

วันนี้ไปติดต่อกับฝ่ายวิชาการเกี่ยวกับการขยายเวลาการศึกษา เจ้าหน้าที่บอกว่าหลักสูตรที่เรียนมัน 5 ปีเลยยังไม่ต้องทำเรื่อง แต่ก็มีคำถามว่าได้หัวข้อกับอ.ที่ปรึกษาหรือยัง ผมก็บอกว่าหัวข้อได้แล้วแต่ยังไม่ได้แต่งตั้งอ.ที่ปรึกษา เนื่องจากมหาลัยต้องการข้อชัดเจนเรื่องนี้ ผมจึงตั้งใจจะทำเรื่องแต่งตั้งอ.ที่ปรึกษาให้สำเร็จ ภายใน
สิ้นเดือนนี้และหลังจากนั้นจะขึ้นสอบหัวข้อภายใน 15 วัน (สู้ ๆ)

วันนี้จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ NMR (Nuclear Magnetic Resonance) นะครับ

ลิงค์ตัวนี้ผมอ่านเป็นตัวแรกเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ magnetic nuclei และ NMR
http://en.citizendium.org/wiki/Nuclear_magnetic_resonance/Catalogs/Magnetic_nuclei

สรุปความเข้าใจจากการอ่านของผมคือ สารทุกชนิดจะมีสิ่งที่เรียกว่า nucleus ซึ่งบางไอโซโทปของสารเหล่านั้นจะมีการหมุนตัวของสารประกอบนิวเคลียส(โปรตอน+นิวตรอน) ที่แตกต่างกันเมื่อได้รับพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จับเอาลักษณะของสารประเภทนี้มาทำการศึกษาและนำความรู้ที่ได้เอาไปใช้ทางด้านเคมีและการแพทย์ โดยจะมีเครื่องมือที่เรียกว่า NMR Spectroscophy และ MRI Spectroscophy ซึ่งการศึกษาลักษณะการหมุนของนิวเคลียสนี้จะเป็นหัวข้อที่มีทฤษฎีทางด้านนิวเคลียร์ฟิสิกส์มารองรับอยู่ ในลิงค์ดังกล่าวจะลิสต์ไอโซโทปของสารที่สามารถศึกษาโดยเทคนิคดังกล่าวได้

( ตรงนี้ถ้าผมจำไม่ผิด งานที่เคยไปคุยกับ อ.ที่ปรึกษา แฟนของอาจารย์ผมซึ่งเป็นนักฟิสิกส์เขาศึกษาเกี่ยวกับไอโซโทปของ carbon-13 ผมก็เลยได้อานิสงส์อันนี้มาด้วย แต่ไม่แน่ใจว่า carbon ไอโซโทปอื่นเขาได้ศึกษาหรือเปล่า แต่อ่านตัวนี้เข้าไปก็เลยเออ...ใช่ มันเป็นอย่างนี้เอง )

จากนั้นผมมาอ่านที่ลิงค์นี้ต่อ
http://en.wikipedia.org/wiki/Nuclear_magnetic_resonance
ยากแฮะ - -' เดี๋ยวค่อยสรุปละกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น